การตอบรับ ผลกระทบ และการออกกฎหมาย ของ ทอร์_(เครือข่ายนิรนาม)

ทอร์ได้รับความยกย่องเพราะให้ความเป็นส่วนตัวและสภาพนิรนาม ต่อผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่เสี่ยงหรือมีภัย เช่นนักปฏิบัติการทางการเมืองผู้ต้องระวังการถูกสอดแนมหรือถูกจับ ต่อผู้ใช้เว็บธรรมดาที่ต้องการหลีกเลี่ยงการถูกตรวจพิจารณา และบุคคลที่ถูกขู่ทำร้ายจากคนเฝ้ากวน[164][165]สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ (NSA) ได้เรียกทอร์ว่า "กษัตริย์แห่งสภาวะนิรนามทางอินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยสูง ล่าช้าน้อย"[15]และนิตยสาร BusinessWeek ได้เรียกมันว่า "อาจเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการเอาชนะการสอดแนมออนไลน์ขององค์กรจารกรรมต่าง ๆ ทั่วโลก"[166]สำนักข่าวอื่น ๆ ได้เรียกทอร์ว่า "อุปกรณ์รักษาความเป็นส่วนตัวที่ชาญฉลาด"[167] "ใช้ง่าย"[168]และ "ปลอดภัยจนกระทั่งว่า จารชนทางอิเล็กทรอนิกที่เก่งสุดยังไม่สามารถหาวิธีเจาะทำลายมัน"[72]

ผู้สนับสนุนทอร์กล่าวว่า มันช่วยสนับสนุนเสรีภาพในการพูด แม้ในประเทศที่ตรวจพิจารณาทางอินเทอร์เน็ต โดยป้องกันความเป็นส่วนตัวและสภาพนิรนามของผู้ใช้รากฐานทางคณิตศาสตร์ในการสร้างทอร์ ทำให้มันเรียกว่า ทำการ "เหมือนกับโครงสร้างพื้นฐาน และรัฐบาลปกติก็จะต้องเป็นผู้จ่ายค่าโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องการใช้"[169]

โปรเจ็กต์ในเบื้องต้นได้พัฒนาขึ้นในนามของชุมชนหน่วยข่าวกรองของสหรัฐ และก็ยังได้รับเงินทุนจากรัฐบาลกลางสหรัฐต่อ ๆ มา ดังนั้น จึงถูกวิจารณ์ว่า "เหมือนกับโปรเจ็กต์ของหน่วยจารกรรม มากกว่าเครื่องมือที่ออกแบบโดยกลุ่มที่มีวัฒนธรรมให้คุณค่าแก่ภาระรับผิดชอบและความโปร่งใส"[23]โดยปี 2012 เงินทุนโปรเจ็กต์ 80% จากงบประมาณ 2 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี (ประมาณ 62 ล้านบาท) มาจากรัฐบาลกลางสหรัฐ โดยส่วนมากมาจากกระทรวงการต่างประเทศ (U.S. State Department), Broadcasting Board of Governors, และมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา[170]โดยมีจุดประสงค์ "เพื่อช่วยผู้สนับสนุนระบบประชาธิปไตยในรัฐอำนาจนิยม"[17]แหล่งเงินทุนจากรัฐอื่น ๆ รวมทั้งจาก DARPA, แล็บวิจัยกองทัพเรือสหรัฐ, และรัฐบาลประเทศสวีเดน[36][171]ทอร์ยังได้รับทุนจากองค์การนอกภาครัฐรวมทั้งฮิวแมนไรตส์วอตช์, บริษัทสื่อข่าว Reddit, และกูเกิล[36]

นายดิงเกิลไดน์ได้กล่าวว่า ทุนจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐเหมือนกับเงินช่วยเหลืองานวิจัย (research grant) มากกว่าสัญญาจัดหา (procurement contract)ส่วนกรรมการบริหารของโปรเจ็กต์ (Andrew Lewman) กล่าวว่า แม้จะได้เงินทุนจากรัฐบาลกลางสหรัฐ โปรเจ็กต์ก็ไม่ได้ร่วมมือกับสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ (NSA) เพื่อเปิดเผยตัวผู้ใช้เครือข่าย[172]

ผู้ไม่เห็นด้วยกล่าวว่า ทอร์ไม่ปลอดภัยเท่ากับที่โปรเจ็กต์อ้าง[173]โดยชี้ตัวอย่างที่การสืบคดีและการปิดไซต์ที่ใช้ทอร์ เช่น บริษัทเว็บโฮสต์ Freedom Hosting และตลาดมืดออนไลน์ซิลค์โรด[23]

ในเดือนตุลาคม 2013 หลังจากวิเคราะห์เอกสารรั่วของเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน สำนักข่าว เดอะการ์เดียน รายงานว่า NSA ได้พยายามบ่อนทำลายทอร์หลายครั้งหลายคราว แต่ก็ไม่สามารถทำลายความปลอดภัยที่เป็นแก่นได้ แม้จะประสบความสำเร็จในการโจมตีคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ทอร์เป็นรายบุคคล ๆ[15] สำนักข่าวยังตีพิมพ์สไลด์ที่เป็นความลับทางราชการของ NSA ที่ตั้งชื่อว่า "ทอร์น่ารังเกียจ (Tor Stinks)" ซึ่งเขียนไว้ว่า"เราจะไม่สามารถระบุผู้ใช้ทอร์ทั้งหมดตลอดเวลา" แต่ "ด้วยการวิเคราะห์ด้วยมือ เราจะสามารถระบุผู้ใช้ทอร์โดยเป็นส่วนน้อยมาก"[174]

เมื่อผู้ใช้ทอร์ถูกจับ ปกติจะเป็นเพราะความผิดพลาดของบุคคล ไม่ใช่เพราะเทคโนโลยีที่เป็นแก่นถูกแฮ็กหรือถูกเจาะทำลาย[175]เช่น ปฏิบัติการตอร์ปิโดของเอฟบีไอในปี 2011-2012 (รายละเอียดในหัวข้อ "การโจมตีไฟร์ฟอกซ์") เป็นไปได้ส่วนหนึ่งก็เพราะบัญชีผู้ดูแลระบบที่ไม่มีรหัสผ่านและทอร์เบราว์เซอร์ของผู้ใช้ที่ไม่ได้อัปเดตอนึ่ง รายงานของนิตยสาร Der Spiegel ที่ใช้ข่าวรั่วของสโนว์เดนแสดงว่า โดยปี 2012 NSA พิจารณาทอร์เดี่ยว ๆ ว่า เป็นภัยหลัก (major threat) ต่อภาระหน้าที่ขององค์กร แต่เมื่อใช้ร่วมกับอุปกรณ์รักษาความเป็นส่วนตัวอื่น ๆ เช่น โพรโทคอลส่งข้อความทันที OTR, Cspace, โพรโทรคอลเข้ารหัสลับวอยซ์โอเวอร์ไอพี ZRTP, โปรแกรมโทรศัพท์อินเทอร์เน็ต RedPhone, ระบบปฏิบัติการ Tails, และโปรแกรมเข้ารหัสลับดิสก์ TrueCrypt ก็จะจัดอยู่ในระดับ "หายนะ" (catastrophic) ซึ่งทำให้ "เสียเกือบหมดซึ่งความรู้ความเข้าใจของการสื่อสารของเป้าหมาย..."[176][177]

ในเดือนมีนาคม 2011 โปรเจ็กต์ทอร์ได้รับรางวัลโปรเจ็กต์ที่ทำประโยชน์ต่อสังคม (2010 Award for Projects of Social Benefit) ของมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีซึ่งกล่าวอ้างว่า"โดยเป็นซอฟต์แวร์เสรี ทอร์ได้ช่วยคนราว 36 ล้านคนทั่วโลกให้ได้ประสบกับเสรีภาพในการเข้าถึงและการพูดทางอินเทอร์เน็ต ในขณะที่ช่วยควบคุมความเป็นส่วนตัวและสภาพนิรนามของตนเครือข่ายของทอร์ได้พิสูจน์แล้วว่า ขาดไม่ได้ในขบวนการคัดค้านทั้งในประเทศอิหร่านและหลังจากนั้น อียิปต์"[178]ในปี 2012 นิตยสาร Foreign Policy ได้เรียกผู้พัฒนาทอร์สามท่าน (คือดิงเกิลไดน์ แม็ทธิวสัน และ Syverson) ว่าเป็นหนึ่งในรายการนักคิดสุดยอด 100 คนทั่วโลก "เพราะทำให้เว็บปลอดภัยสำหรับวิสเซิลโบลว์เออร์"[179]

ในปี 2013 นักข่าวอิสระ (และครั้งหนึ่ง ผู้ร่วมพัฒนาทอร์) เรียกทอร์ว่า "เป็นส่วนของระบบนิเวศซอฟต์แวร์ที่ช่วยคนให้ได้และเคลมภาวะอิสระคืนมามันช่วยให้คนได้วิธีการต่าง ๆ มากมายมันช่วยคนให้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และมันช่วยให้คุณช่วยตนเองมันทำงานได้จริง เป็นซอฟต์แวร์เปิด และสนับสนุนโดยชุมชนขนาดใหญ่ที่มาจากทุกชนชั้นสังคมและอาชีพ"[180]

ในเดือนมิถุนายน 2013 วิสเซิลโบลว์เออร์เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดนได้ใช้ทอร์ส่งข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรมการสอดแนมคือ PRISM (ของ NSA) ไปยังหนังสือพิมพ์ เดอะวอชิงตันโพสต์ และ เดอะการ์เดียน[181]ในปี 2014 รัฐบาลรัสเซียได้ประกาศให้รางวัลมูลค่า 111,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 3.6 ล้านบาท) เพื่อ "การศึกษาความเป็นไปได้เพื่อหาข้อมูลทางเทคนิคเกี่ยวกับผู้ใช้และอุปกรณ์ของผู้ใช้ในเครือข่ายนิรนามของทอร์"[182][183]ในเดือนตุลาคม 2014 โปรเจ็กต์ทอร์ได้ว่าจ้างบริษัทประชาสัมพันธ์ Thomson Communications เพื่อช่วยปรับปรุงภาพพจน์ขององค์กร (โดยเฉพาะในเรื่อง "Dark Net" และบริการซ่อน ซึ่งมองอย่างแพร่หลายว่าเป็นปัญหา) และเพื่อให้ความรู้แก่นักข่าวในเรื่องทางเทคนิคของทอร์[184]

ในเดือนมิถุนายน 2015 ผู้เสนอรายงานการประชุมพิเศษ (special rapporteur) จากสำนักงานสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติคือ Office of the High Commissioner for Human Rights ได้อ้างทอร์โดยตรงเมื่ออภิปรายในสหรัฐประเด็นการสร้างประตูหลังสำหรับโปรแกรมเข้ารหัสลับเพื่อใช้ในการบังคับกฎหมาย เมื่อให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ เดอะวอชิงตันโพสต์[185]

ในเดือนกรกฎาคม 2015 โปรเจ็กต์ทอร์ได้ประกาศการร่วมมือกับ Library Freedom Project เพื่อตั้งสถานีขาออกของทอร์ในห้องสมุดสาธารณะ[186][187]โปรแกรมทดลอง ได้ตั้งสถานีทอร์ที่ดำเนินการอาศัยแบนด์วิดท์เมื่อไม่มีการใช้ของห้องสมุด Kilton ในรัฐนิวแฮมป์เชียร์ แล้วทำให้มันเป็นห้องสมุดแห่งแรกในสหรัฐอเมริกาที่โฮสต์สถานีทอร์ แต่ต่อมาต้องหยุดดำเนินการชั่วคราวเมื่อผู้บริหารทางเทศบาลและหัวหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจพื้นที่ ได้แสดงความกังวลในเรื่องค่าใช้จ่ายเพื่อต่อสู้หมายค้นข้อมูลที่วิ่งผ่านสถานีขาออกแม้กระทรวงความปลอดภัยภายในแห่งชาติสหรัฐ (DHS) จะได้แจ้งเจ้าหน้าที่รัฐนิวแฮมป์เชียร์ว่า อาชญากรบางครั้งใช้ทอร์แต่ต่อมาทั้งหัวหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจพื้นที่และผู้บริหารทางเทศบาลก็ได้ตกลงกันว่า ไม่ควรกดดันบังคับห้องสมุด แล้วต่อมาการบริการจึงได้เริ่มดำเนินต่อไปอีกในวันที่ 15 กันยายน 2015[188]

ผู้แทนราษฏรรัฐสภาสหรัฐ Zoe Lofgren (D-Calif) ได้ตีพิมพ์จดหมายที่ส่งไปให้ DHS ขอให้กระทรวงทำกระบวนการทำงานของกระทรวงให้กระจ่าง โดยอ้างว่า "แม้คณะกรรมการของห้องสมุดสาธารณะ Kilton ในที่สุดก็ลงเสียงคืนบริการรีเลย์ของทอร์ ดิฉันก็ยังรู้สึกหนักใจถึงความเป็นไปได้ว่า เจ้าหน้าที่ของ DHS กำลังกดดันหรือชักชวนนิติบุคคลทั้งที่เป็นของรัฐและเอกชน ให้ยุติหรือลดบริการที่ป้องกันความเป็นส่วนตัวและสภาพนิรนามของประชาชนชาวอเมริกัน"[189][190][191]ห้องสมุดที่สองที่โฮสต์สถานีทอร์ก็คือห้องสมุดสาธารณะ Las Naves ในประเทศสเปนที่เริ่มทำการเมื่อต้นปี 2016[192]

ในเดือนสิงหาคม 2015 กลุ่มวิจัยด้านความปลอดภัยของไอบีเอ็ม ชื่อว่า "X-Force" ได้พิมพ์รายงานรายสามเดือนที่แนะนำให้บริษัทต่าง ๆ บล็อกเครือข่ายทอร์เพราะเหตุผลทางความปลอดภัย โดยอ้างการโจมตีที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ผ่านสถานีทอร์ขาออกและการใช้เครือข่ายของ botnet[193]

ในเดือนกันยายน 2015 มีการพัฒนาและแจกจ่าย OnionView ซึ่งเป็นบริการเว็บที่สร้างแผนผังตำแหน่งของสถานีทอร์ที่ดำเนินการ โดยทำบนแผนที่โลกแบบโต้ตอบจุดมุ่งหมายของโปรเจ็กต์ก็เพื่อแสดงขนาดเครือข่ายและอัตราการเติบโตที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว[194][195]

ในเดือนมีนาคม 2016 ผู้แทนราษฏรรัฐสภานิวแฮมป์เชียร์ผู้หนึ่ง (Keith Ammon) ได้เสนอกฎหมาย[196]อนุญาตให้ห้องมุดสาธารณะสามารถดำเนินงานซอฟต์แวร์เพื่อความเป็นส่วนตัวโดยกฎหมายอ้างอิงทอร์โดยตรงเนื้อความของกฎหมายได้ร่างขึ้นโดยได้ความร่วมมือจากผู้อำนวยการของ Library Freedom Project[197]แล้วต่อมากฎหมายก็ผ่านรัฐสภาด้วยคะแนนเสียง 268-62[198]

ในเดือนมีนาคม 2016 สถานีทอร์แห่งแรกโดยเป็นสถานีในระหว่าง ๆ ได้ตั้งขึ้นที่ห้องสมุดในมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นออนแทรีโอในแคนาดา[199]

ในวันที่ 16 พฤษภาคม 2016 ซีเอ็นเอ็นได้รายงานกรณีผู้พัฒนาทอร์คือ Isis Agora Lovecruft ผู้ได้เดินทางไปยังประเทศเยอรมนีหลบหนีหมายเรียกพยานของ FBI เมื่อปีก่อนแล้วต่อมาจึงได้ทนายจากมูลนิธิชายแดนอิเล็กทรอนิก (EFF)[200]

ในวันที่ 2 ธันวาคม 2016 นิตยสาร The New Yorker ได้รายงานว่ามีสัมมนาเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยทางดิจิทัลในเขตซานฟรานซิสโกเพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากการสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2559 ของดอนัลด์ ทรัมป์โดยมีการกล่าวถึงการดาวน์โหลดทอร์เบราว์เซอร์โดยตรง[201]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ทอร์_(เครือข่ายนิรนาม) http://50.21.181.236/congress/2015/h264-sd/32c3-73... http://www.gq.com.au/entertainment/tech/the+new+ma... http://www.scmagazine.com.au/News/246707,egyptians... http://www.smh.com.au/news/security/the-hack-of-th... http://www.fims.uwo.ca/news/2016/library_in_fims_j... http://pro.01net.com/editorial/544024/des-chercheu... http://arstechnica.com/security/2014/04/tor-networ... http://arstechnica.com/security/2014/07/russia-pub... http://arstechnica.com/security/2014/07/tor-develo... http://arstechnica.com/security/2016/08/building-a...